Page 389 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 389
383
ธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ การสร้างเครื่องมือให้หลากหลายจึงน่าจะเกิด
ประโยชน์ส าคัญต่อการสร้างและแสวงหาความรู้
การได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความหลากหลายท าให้การจัดระบบ หมวดหมู่และสามารถแยกประเภทได้อย่าง
น่าสนใจทั้งเนื้อหาและรูปแบบ ทั้งข้อมูลทฤษฎี ข้อมูลภาพ ไฟล์ ดิจิทัล ข้อมูลประเภท VDO ภาพเคลื่อนไหว
ทั้งนี้ข้อมูลต่างๆยังได้ถูกกลั่นกรองจากคณะกรรมการกลั่นกรองความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิอันเป็นบุคลากรที่มี
ประสบการณ์ของวิทยาลัย ช้อมูลที่ได้มาจึงมีคุณภาพทั้งด้านเนื้อหา วิธีการ และลักษณะเฉพาะของ
กลุ่มเป้าหมายแต่ละท่าน นอกจากการจัดการความรู้จะได้มาซึ่งหลักการในการปฏิบัติในภาพรวมของการสอน
ศิลปะด้วยวิธีการสาธิตแล้ว ผู้เข้าถึงความรู้ยังได้ศึกษาลักษณะเฉพาะของคณาจารย์ฝีมือชั้นครู ผู้เชี่ยวชาญใน
หลากหลายสาขา เช่น ศิลปะไทย จิตรกรรม วาดเส้น ประติมากรรม ซึ่งผู้สาธิตบางท่านไม่เคยปรากฏการ
บันทึกภาพการปฏิบัติให้เห็นเป็นขั้นเป็นตอนอย่างชัดเจนในสื่อด้านใดมาก่อน ทั้งนี้จากการน าองค์ความรู้ เรื่อง
การสอนศิลปะด้วยวิธีการสาธิตไปเผยแพร่ต่อกลุ่มเป้าหมาย ทั้งด้วยวิธีการออกแบบ สื่อ ด้วยโปรแกรม
Infographic ได้ลักษณะของข้อมูลที่มีความพิเศษน่าสนใจทั้งด้านเนื้อหาที่สัมพันธ์กับรูปแบบและมี
ลักษณะเฉพาะ การเผยแพร่ด้วยเอกสาร แผ่นพับ คู่มือ การสร้างหน้าเว็บเพจ และมีการน าข้อมูลไปเชื่อมต่อ
ในระบบโซเชียล ออนไลน์ เช่น youtube, facebook และ website ของวิทยาลัย ท าให้เกิดการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ และเรียนรู้ของบุคลากรในองค์กร ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ผู้สอนรายวิชา วาดเส้น 5 และวาดเส้น 6 น าองค์ความรู้ไปทดลองพัฒนาวิธีการสาธิตในรายวิชา
วาดเส้น ที่สัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้วิชากายวิภาค ในลักษณะบูรณาการ ท าให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ เห็น
ความสัมพันธ์กันระหว่างวิชาผู้เรียนสามารถน าความรู้ในทฤษฎีกายวิภาค เช่นต าแหน่ง รูปทรงของกล้ามเนื้อ
ไปใช้ปฏิบัติในวิชาวาดเส้นให้เกิด สัดส่วน มิติ และปริมาตรในการวาดภาพคนได้ถูกต้องมากขึ้น
อาจารย์ประจ าวิชา วาดเส้น 3 และวาดเส้น 4 น าองค์ความรู้ไปทดลองพัฒนาวิธีการสาธิตที่
สามารถพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียน ในเรื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน เรื่อง
โครงสร้าง และสัดส่วน ของ หุ่นปูน (คน) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการประมวล ข้อมูล ประสบการณ์ และแรงบันดาล
ใจ ขึ้นภายในและแสดงออกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพที่เป็นรูปธรรม ที่เน้นการเรียนรู้ด้านทักษะ ความช านาญ
ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ด้วยการร่างภาพเส้นโครงสร้างและการก าหนดเส้นสัดส่วน
จากแบบหุ่นปูน (คน) ซึ่งเป็นเส้นสมมติในจินตนาการที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านทฤษฎีได้แม่นย าและถูกต้อง
มากขึ้น
อาจารย์ประจ าวิชา จิตรกรรม 1 และจิตรกรรม 2 น าองค์ความรู้ไปทดลองพัฒนาวิธีการสาธิต ใน
วิชาจิตรกรรม1-2 ด้วยวิธีการวาดภาพที่มีความซ้ า และความถี่ในการสาธิต เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ ใน
การเห็น น าไปประยุกต์ใช้ให้เกิดทักษะ และความช านาญ ผู้เรียนในระดับชั้น ปวช.1 ที่ไม่ค่อยมีทักษะในการ
ปฏิบัติงาน และมีพัฒนาการในการเรียนรู้ค่อนข้างช้าได้มีโอกาสในการซักถามและทบทวนท าความเข้าใจใน
บทเรียนมากขึ้น ผู้เรียนเกิดความมั่นใจสามารถน าความรู้ความเข้าใจไปใช้ในการปฏิบัติงานจิตรกรรมสีน้ าได้ดี
มากขึ้น
ผู้สอนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ในระดับชั้น ปวช.3 น าองค์ความรู้เรื่องการสอนศิลปะด้วยวิธีการ
สาธิต ในหัวข้อการสาธิตควรมี เอกสาร คู่มือให้ผู้เรียนได้ดูประกอบการสาธิต มาประยุกต์ใช้ด้วยการสร้าง
เอกสาร คู่มือข้อมูลทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ ประกอบการสาธิตหลักการจัดภาพ ท าให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ
ทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ได้ดีขึ้น ผู้เรียนสามารถทบทวนข้อมูลได้ด้วยตนเองระหว่างการสาธิตได้ ท าให้เห็น