Page 390 - บทความแนวปฏิบัติที่ดี KM มทร.+2 ครั้งที่ 10
P. 390
384
และเข้าใจเป้าหมายในการสาธิตมากขึ้นอย่างชัดเจน จากการใช้คู่มือประกอบการสาธิตที่มีลักษณะภาพและ
ตัวอักษรที่สัมพันธ์กับวัยของผู้เรียนท าให้มีความสนใจในการสาธิตมากขึ้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และน าทฤษฎี
ไปใช้ในการปฏิบัติงานวิชาองค์ประกอบศิลป์อย่างมีพัฒนาการมากขึ้นกว่าการสาธิตด้วยวิธีการที่ไม่ใช้คู่มือ
นอกจากนั้นผู้สอนรายวิชาองค์ประกอบศิลป์ในระดับชั้น ปวช.3 ยังได้เกิดความคิดที่จะพัฒนาสื่อ
การเรียนรู้ในวิชาองค์ประกอบศิลป์ในเชิงลึกที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยน าเสนอโครงการวิจัย
ประจ าปีงบประมาณ 2561 ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เรื่อง “สื่อการเรียนรู้องค์ประกอบศิลป์ ส าหรับผู้
ศึกษาทัศนศิลป์”
อาจารย์ประจ าวิชากายวิภาค ชั้นปีที่ 3 ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และน าองค์ความรู้ไปทดลอง
พัฒนาวิธีการสาธิตในวิชา กายวิภาค ด้วยการพัฒนาวิธีการสาธิตเดิมให้เกิดกระบวนการที่มีการผสมผสาน
ระหว่างการเขียนสาธิต กับวิธีการสอนด้วยการแสดงดนตรีที่มีเนื้อหาเรื่องทฤษฎีวิชากายวิภาค เช่น ชื่อ
กล้ามเนื้อมนุษย์ ในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะการบันทึกด้วยระบบภาพ VCD/DVD การสาธิตการ
เขียนรูป และปั้นกล้ามเนื้อจากแบบคนที่มีลักษณะและท่าทางเดียวกันกับที่ใช้ในวิชาวาดเส้น ผสมกับการใช้
เพลง Anatomy song เป็นต้น โดยการสาธิตแบบผสมผสานใหม่ท าให้ผู้เรียนในระดับชั้น ปวช.3 เข้าใจใน
ทฤษฎีวิชากายวิภาคได้ดีขึ้น เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ เป็นการสร้างหลักการจ าท าให้
ผู้เรียนเกิดจินตภาพที่สัมพันธ์กับความถูกต้องของทฤษฎีและน าไปใช้ได้จริง
ภาพที่ 26 การสาธิตแบบผสมผสานใหม่ในวิชากายวิภาคระดับชั้น ปวช.3
ข้อเสนอแนะในการท างานขั้นต่อไปและกิจกรรมในอนาคต
การจัดการความรู้ในครั้งนี้จะเป็นประสบการณ์การท างานครั้งส าคัญที่มีประโยชน์ต่อการจัดการ
ความรู้ในครั้งต่อไป เพื่อให้เกิดการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ สามารถรวบรวมคัดสรรองค์ความรู้เรื่อง
วิธีการสาธิตการท างานศิลปะให้ผู้เรียน ผู้สาธิตรุ่นใหม่ในอนาคตได้เห็นในทุกๆเนื้อหาและวิธีการเขียนรูปสาธิต
ของครูแต่ละท่านในหลากหลายสาขาวิชามากขึ้น จากการด าเนินกิจกรรมในทุกขั้นตอนของการจัดการความรู้
คณะท างานได้เห็นถึงปัญหาในการท างาน แนวทางการแก้ปัญหาและการน าข้อพัฒนาไปใช้ในการด าเนินการ
ครั้งต่อไป โดยมีข้อเสนอแนะในการท างานขั้นต่อไปและกิจกรรมในอนาคตดังต่อไปนี้
1. ควรมีการจัดการและบูรณาการในเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติและเป็นรูปธรรมที
ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างโอกาส เอื้อต่อการจัดการความรู้ให้มากที่สุด